8 ปัญหาเครื่องพิมพ์วันที่
ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น เมื่อเราต้องการพิมพ์วันที่ผลิต วันหมดอายุ ลงบนสินค้า แต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้วิธีไหนดี บางท่านก็อาจจะลองวัดดวง ซื้อเครื่องบางชนิดมาใช้ แล้วก็ต้องพบกับประสบการณ์อันเลวร้าย ที่คนขายไม่ได้บอก วันนี้เราได้รวบรวม 8 ปัญหาฮิตจากประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาให้ได้สำรวจตัวเองก่อนจะเริ่มใช้กัน
1. พิมพ์ไปแล้ว ตัวหนังสือหลุดลอก
หมึกสำหรับพิมพ์นั้นมีหลากหลายนับเป็นพันๆสูตร แต่ละสูตรเหมาะกับผลิตภัณฑ์ต่างๆกันไป เช่น หมึกสำหรับพิมพ์บนถุง สำหรับกระดาษ กล่องลัง สำหรับขวดน้ำ สำหรับกระปุก วิธีที่ดีที่สุดและแน่นอนที่สุดนั้นคือต้องลองพิมพ์ลงบนสินค้าจริงเท่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า หมึกเบอร์ที่จะใช้ยึดติดแน่นไม่หลุดลอก ไม่ว่าจะโดนน้ำ โดนความร้อนภายหลังก็ตาม
2. กลิ่นหมึกแรง
ระบบ อิงค์เจต CIJ นั้นส่วนมากผู้ผลิตจะใช้ MEK ( Methyl Ethyl Ketone ) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีกลิ่นแรง แรงขนาดไหน ให้นึกถึง กลิ่นทินเน่อร์ หรือเวลาทาสีบ้าน ทำให้ถ้าใช้เครื่องพิมพ์วันที่ในระบบปิด อย่างห้องแอร์ หรือสถานที่ที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่ดี รับรองได้ว่าคุณและพนักงานของคุณจะไม่สามารถทนกลิ่นของมันได้เลย
3. ต้องล้างหัวพิมพ์เกือบทุกวัน
ถ้าคุณยังไม่เคยได้ลองใช้เครื่อง inkjet คุณอาจจะไม่คุ้นเคยกับสิ่งนี้ ต้องล้างด้วยหรอ ต้องล้างบ่อยแค่ไหน คำตอบคือ ใช่ คุณต้องล้าง และล้างเกือบทุกวันด้วย นั่นไม่ใช่เรื่องสนุก คุณต้องสิ้นเปลืองน้ำยาล้าง เสียเวลากว่าเครื่องจะพร้อมใช้งาน แต่เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เกิดขึ้นในทุกระบบ ถ้าคุณใช้ เลเซ่อร์ แน่นอนว่า คุณไม่ได้ใช้หมึกพิมพ์ และไม่จำเป็นต้องล้างเลย ถ้าคุณใช้ระบบ Thermal Inkjet คุณแค่ใช้ผ้าบางๆ เช็ดเบาๆ เท่านั้น
4. พิมพ์ไม่เยอะ แต่ต้องซื้อน้ำยาเมคอัพเยอะทุกเดือน
ระบบ อิงค์เจ็ตนั้น ทำงานโดยการผสมหมึกและเมคอัพเข้าด้วยกันตลอดเวลาเพื่อรักษาความเข้มข้นให้ได้ค่าที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้คุณจะไม่ได้พิมพ์อะไรเลยในวันนั้น ทั้งวัน แต่ เมคอัพก็ยังคงระเหยไปอยู่ดี นั่นทำให้คุณต้องซื้อเมคอัพทุกเดือน ในขณะที่หมึกไม่ได้ลดลงไปเลย
5. ต้องเปลี่ยนฟิลเต้อร์ทุกปี หรือตามอายุการใช้งาน
โดยเฉลีย ทุก 4,000 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 ปี คุณต้องเปลี่ยนฟิลเต้อร์ ที่ทำหน้าที่เหมือนไส้กรองรถ หรือไส้กรองน้ำดื่ม เพื่อดักจับสิ่งสกปรกให้หมึกนั้นสะอาดที่สุด เพื่อผลการพิมพ์ที่สูง ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนฟิลเต้อร์นั้น มีตั้งแต่ 15000-35000 ขึ้นกับยี่ห้อที่คุณเลือกใช้
6. เครื่องพิมพ์บ้างไม่พิมพ์บ้าง
พบบ่อยเมื่อคุณมีหลายสินค้า ยิ่งแต่ละสินค้ามีฉลากหลายสี เนื่องด้วย การทำงานของเครื่องนั้น ใช้ระบบ เซนเซ่อร์ Fiber Optics ในการตรวจจับชิ้นงานที่จะพิมพ์ ถ้าเราเลือกจุดที่จะให้เซนเซ่อร์จับไม่เหมาะสม หรือชิ้นงานอยู่ชิดกันเกินไปก็จะทำให้เครื่องพิมพ์บ้างไม่พิมพ์บ้าง หรือไม่พิมพ์เลย ทั้งนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการเลือกจุดตรวจจับที่เหมาะสม
7. ความเร็วที่พิมพ์ได้ช้ากว่าความเร็วไลน์การผลิต
ถึงเครื่อง อิงค์เจ็ทนั้น จะพิมพได้ค่อนข้างรวดเร็วแต่นั่น พูดกันที่ การพิมพ์แค่เพียง 1 บรรทัดเท่านั้น เมื่อคุณต้องการพิมพ์ 2-3 บรรทัดหรือมากกว่านั้น ความเร็วของเครื่องก็จะลดลงตามลำดับ
8. พิมพ์ตัวขาด
เมื่อคุณต้องพิมพ์วันที่ผลิต แล้วพบว่า ตัวหนังสือมาไม่ครบ ไม่ว่าจะหายด้านบน หรือหายด้านล่าง ไม่ต้องแปลกใจ ที่คุณต้องทำคือกลับไปข้อ 3 ล้างหัวพิมพ์
ติดตามข้อมูลข่าวสาร เครื่องพิมพ์วัน ได้ที่
- www.iMark.co.th
- Line Official : @imark ( มี @ นำหน้า แอดแล้วทักมาได้เลยจ้า )
- Youtube : https://youtu.be/rQ0GnI0HOZs
- Instagram : www.instagram.com/imark.co.th/
- Call-02-810-0496,09-4224-6365
#iMark #เครื่องพิมพ์วันที่ #เครื่องพิมพ์วันแบบสายพาน #เครื่องพิมพ์วันแบบมือลาก #เครื่องพิมพ์วันสำหรับSME